spot_imgspot_img
  • Aetos Bonus 50000
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่การใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบในภาคการเงิน

การใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบในภาคการเงิน

“ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงินและนวัตกรรม คือ PPP” เป็นคำกล่าวของคุณ Siddharth Shetty ที่ปรึกษาของกระทรวงการคลังอินเดีย ในวงเสวนาระดับโลกของแบงก์ชาติ BOT Digital Finance Conference 2023 ระหว่างวันที่ 14-15 ก.ย.ที่ผ่านมา โดย PPP ที่กล่าวถึง คือ Public-Private Partnership หรือกลไกรัฐร่วมเอกชน
ผู้เขียนเองก็เป็นฟันเฟืองเล็กๆในกลไกนี้ จึงเป็นเกียรติอย่างยิ่งในฐานะผู้แทนสมาคมธนาคารไทย ร่วมเสวนาในหัวข้อ “Responsible AI for the Future Financial Services” โดยขอยกบางประเด็นมาแลกเปลี่ยนในที่นี้
เจ้าภาพและผู้ดำเนินรายการเสวนา คือ ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส สพธอ. หรือ ETDA โดยมีผู้ร่วมเสวนาสองท่าน ได้แก่ ดร.พรรคธาดา ตรีรัตนพิทักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธปท. และคุณพรทิพย์ กองชุน ผู้ก่อตั้ง และ Chief Growth Officer บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด โดยแบ่งประเด็นการพัฒนาและใช้งาน AI (Artificial Intelligence) อย่างมีความรับผิดชอบในภาคการเงินได้เป็นสามมิติ
ในมุมของธุรกิจบริการทางการเงิน AI ช่วยให้การเชื่อมโยงและประมวลผลข้อมูลพฤติกรรมทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีโอกาสที่ผู้ให้บริการจะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุนยกระดับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และการปรับกระบวนการทำงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจและเข้าถึงการทำงานร่วมกันกับ AI นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม Value Creation ผ่านการให้บริการที่ตอบโจทย์ตรงกับความต้องการลูกค้า ภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม
ในด้านผู้ใช้บริการทางการเงิน ต้องได้รับการคุ้มครองจากการใช้งาน AI โดยไม่เพียงต้องอนุญาตให้ข้อมูลพฤติกรรมระดับบุคคลถูกใช้งานประมวลผล แต่อาจจะต้องเปิดให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ที่จะได้รับบริการอย่างเป็นธรรม และไม่ถูกจูงใจ หรือ nudge เชิงพฤติกรรมให้เกิดการบริโภคเกินควร
ผู้ให้บริการทางการเงินจึงต้องยกระดับจากการดำเนินการภายใต้ธรรมาภิบาลที่รัดกุมมาเป็นการให้บริการอย่างมีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบ คำนึงถึงความมั่นคงทางการเงินของลูกค้าในระยะยาว และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินให้กับกลุ่มที่ยังไม่ได้รับบริการทางการเงินเพียงพอ
มิติสุดท้าย คือ กฎเกณฑ์การกำกับดูแลการใช้งาน AI ซึ่งนับว่ามีการใช้งานแตกต่างกันไปตามแต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาทิ กฎเกณฑ์การใช้งาน AI ในทางการแพทย์ จะสามารถให้ AI จ่ายยาได้หรือไม่ หรือ ในทางการเงินและการบริการสาธารณะจะมีหลักเกณฑ์เฉพาะเจาะจงอย่างไร
โดยในชั้นนี้ยังไม่เห็นควรให้มีการกำกับดูแล AI เป็นการเฉพาะ แต่ทาง ETDA เองได้จัดตั้ง AI Governance Clinic (AIGC) สำหรับทำงานร่วมกับผู้ปฏิบัติเพื่อออกกรอบการใช้งาน AI เพื่อเป็นช่องทางให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และบริหารจัดการความเสี่ยงควบคู่ไปกับการส่งเสริมนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยสรุปแล้ว การใช้งาน AI อย่างมีความรับผิดชอบต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ในเชิงพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวกับผู้ใช้บริการควบคู่ไปกับการทำงานร่วมกันในการออกแบบกรอบการใช้งานภายใต้ทั้งหลักธรรมาภิบาลและจริยธรรม
อย่างไรก็ดี ต้องไม่ลืมว่าเทคโนโลยีมาพร้อมกับความเสี่ยง เราอยู่ในโลกที่องค์กรอาชญากรรมออนไลน์ใช้เทคโนโลยีโดยไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ใดๆ และปราศจากความรับผิดชอบต่อผู้ใช้งานโดยสิ้นเชิง จนนำมาสู่ความเสียหายเป็นจำนวนมาก
เกราะป้องกันสำคัญที่สุด คือ วิจารณญาณของพวกเราทุกคนที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อของความรัก โลภ กลัว และหลงนั่นเอง.
โดย ดร.นครินทร์ อมเรศ
ฝ่ายยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างองค์กร
ธนาคารไทยพาณิชย์
Source: ไทยรัฐออนไลน์

REVIEW OVERVIEW

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_imgspot_imgspot_imgspot_img
[td_block_1 custom_title="Review Brokers" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10" category_id="101" sort="oldest_posts"][td_block_1 custom_title="Last Post" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10"]