spot_imgspot_img
  • Aetos Bonus 50000
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่เงินเฟ้อต่ำ ก็ใช่ว่าจะลดดอกเบี้ย

เงินเฟ้อต่ำ ก็ใช่ว่าจะลดดอกเบี้ย

วันพุธที่ 7 ก.พ.นี้ หากไม่มีอะไรพลิกโผ หรือเซอร์ไพร์สที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. คงจะยังไม่ลดดอกเบี้ยครั้งนี้ โดยคาดว่าจะคงไว้ที่ระดับ 2.5% ตามเดิม แม้ว่าล่าสุดเงินเฟ้อปี 2566 ที่ผ่านมาจะอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำที่ 1.23% แต่ทางผู้บริหารแบงก์ชาติกลับยังไม่ส่งสัญญาณใดๆ ออกมา แม้จะถูกกดดันค่อนข้างมากจากฝั่งรัฐบาล
ล่าสุด จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช. คลัง ที่บอกว่า กนง. ควรลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อช่วยเหลือประชาชน รวมถึงภาคธุรกิจ เพราะมองว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ ที่ รมช.คลังมองว่า เมื่อแบงก์มีกำไรสูง ควรจะมองกลับมาที่ประชาชนบ้างประมาณนี้
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ หากยังจำกันได้ นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เศรษฐา ทวีสิน ก็เคยประกาศว่าไม่เห็นด้วยที่แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา ทั้งที่เงินเฟ้อไทยติดลบติดต่อกันหลายเดือน และยังแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าดอกเบี้ยนโยบายควรจะลดลงได้อีกเมื่อเงินเฟ้อต่ำมากแล้ว “หวังว่าแบงก์ชาติจะช่วยดูแลประชาชนไม่ขึ้นดอกเบี้ยสวนทางกับเงินเฟ้อนะครับ” นี่คือจุดยืนของฟากฝั่งรัฐบาล
แต่ดูเหมือนจะไม่มีเสียงตอบรับจากวังบางขุนพรหม แม้วันประชุม กนง. จะใกล้เข้ามาแล้วก็ตาม ขณะที่บรรดากูรูหรือหน่วยงานเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ต่างมองไปในทางเดียวกันว่าแบงก์ชาติคงยังไม่ลดดอกเบี้ย และน่าจะคงไว้ที่ 2.5% เท่าเดิม เพราะแบงก์ชาติเชื่อว่าดอกเบี้ยระดับปัจจุบันเหมาะสมกับเศรษฐกิจกำลังทยอยฟื้นตัวและเอื้อให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน
โดยแบงก์ชาติระบุว่าการดำเนินนโยบายการเงินข้างหน้า จะพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวโน้มและความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันมีส่วนช่วยให้การก่อหนี้ใหม่เป็นไปอย่างสมดุลมากขึ้น เทียบกับช่วงที่อยู่ในระดับต่ำมากมานาน โดยหากเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าเป็นไปตามที่ กนง. คาดไว้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันต่อเนื่อง
ส่วน SCB EIC คาดว่าดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะคงอยู่ที่ระดับ 2.5% ไปตลอดปี 2567 โดยประเมินว่าดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ที่ระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว และช่วยให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3% ของแบงก์ชาติได้อย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real interest rate) ของไทยกลับมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับในช่วงก่อน COVID-19 ซึ่งจะช่วยเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาวได้
ดังนั้นแนวนโยบายเรื่องดอกเบี้ยของรัฐบาล และแบงก์ชาติ ก็จะยังคงสวนทางไปอีกระยะหนึ่ง เพราะแบงก์ชาติเน้นย้ำตลอดว่า เงินเฟ้อต่ำก็ไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเสมอไป เพราะเสถียรภาพการเงินในประเทศมาก่อนเป็นอันดับแรก
พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
: บรรณาธิการบริหาร
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

REVIEW OVERVIEW

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_imgspot_imgspot_imgspot_img
[td_block_1 custom_title="Review Brokers" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10" category_id="101" sort="oldest_posts"][td_block_1 custom_title="Last Post" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10"]